มีรักก็ต้องมีเลิก!! 3 ขั้นของความรัก ทำไมตกหลุมรัก และหมดรักกันได้อย่างง่ายดาย


              "ความรัก" สำหรับคนเราทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นความสุข เป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆกัน แต่ความรักสำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว เขามองว่า ความรักเป็นเรื่องของอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมีในสมอง และได้แบ่งความรักออกเป็น 3 ขั้น จะมีอะไรบ้าง แล้วแต่ละขั้นจะเป็นยังไง ลองตามไปดูกันได้เลยค่ะ



ขั้นที่ 1 : ความต้องการทางเพศ

สมองจะหลั่งฮอร์โมนเพศ เทสโทสเทอโรน และเอสโทรเจนมากขึ้น

              เมื่อเอสโทรเจนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ผู้หญิงมักจะแสดงท่าทีที่เป็นการดึงดูดฝ่ายตรงข้าม อย่างการใช้สายตา หรือท่าทาง ส่วนในผู้ชายเมื่อเทสโทสเทอโรนเพิ่มระดับสูงขึ้น มักจะมีแรงขับเคลื่อนทางเพศมากขึ้น และทำตัวเป็นสุภาพบุรษมากขึ้น จึงทำให้พวกเขามีแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้ามมากยิ่งขึ้น จึงเป็นสาเหตุของคำว่า รักแรกพบ นั่นเอง



ขั้นที่ 2: การดึงดูด (เสน่ห์)

รู้สึกตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจ ร่างกายอบอวลไปด้วยฮอร์โมนแห่งความสุข

              เมื่อได้พบเจอคนที่ถูกใจ เราจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ ราวกับตกอยู่ในภวังค์ อะดรีนาลีน จะถูกหลั่งออกมาโดยต่อมหมวกไต ในเวลาที่เรารู้สึกตื่นเต้น สิ่งที่ตามมาก็คือ เหงื่อแตกพลั่ก ใจเต้นแรง โหวง ๆ ในท้อง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่า มีบางอย่างสัมพันธ์กันระหว่างอะดรีนาลีนกับแรงดึงดูด นั่นคือ อะดรีนาลีนในร่างกายยิ่งสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้คนคนนั้นมีแรงดึงดูดมากเท่านั้น

              โดปามีน และเซโรโทนิน ที่ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข จะถูกหลั่งออกมามากขึ้นเมื่อเราเจอคนที่ถูกใจ

              โดปามีน จะกระตุ้นความปรารถนาและความต้องการสิ่งตอบแทน ร่างกายจะรู้สึกมีพลังงานมากขึ้น ความอยากอาหารและต้องการการนอนหลับน้อยลง มีใจจดจ่อกับสิ่งหรือคนที่สนใจมากกว่าปกติ ต้องการความสนใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและแฮปปี้ในเวลาเดียวกัน

              เซโรโทนิน สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอารมณ์ ความสุข ความเจ็บปวด ความอยากอาหาร  ความต้องการทางเพศ การนอนหลับ และการรับรู้ต่าง ๆ เป็นสารเคมีที่ทำให้อารมณ์ดี แต่จะออกฤทธิ์เช่นเดียวกับโคเคน นั่นคือ ทำให้เกิดการเสพติดได้เหมือนกัน คุณจะคิดถึงแต่คนนั้น จิตใจจดจ่อที่เขาเพียงอย่างเดียว

ขั้นที่ 3: ความผูกพัน

ร่างกายหลั่ง ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน ออกซิโทซิน และวาโซเพรสซิน

              ออกซิโทซิน บ้างก็เรียกว่า ฮอร์โมนแห่งรัก(love hormone)  ฮอร์โมนแห่งการกอด (cuddle hormone) และฮอร์โมนแห่งความเชื่อใจ (trust hormone) เพราะทำให้เกิดความรัก ความผูกพัน และความเชื่อใจซึ่งกันและกัน

              วาโซเพรสซิน มีผลต่อเรื่องของความสัมพันธ์ระยะยาว ในคู่รักที่มีความสัมพันธ์แนบแน่น เป็นเรื่องของความผูกพัน เป็นสารที่ถูกหลั่งออกมาหลังจากคู่รักมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าวันใดที่วาโซเพรสซินในร่างกายลดระดับลง ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักก็จะเริ่มบอบบาง และอาจทำให้เกิดปัญหาการนอกใจ ปัญหามือที่สาม ปัญหาบ้านแตกตามมา..




แนะนำ




ความรัก


ผู้หญิงร่าเริงคู่รักผู้หญิงมีเสน่ห์ความรักรักเร็วเคล็ดลับผู้หญิงความสัมพันธ์คำพูดต้องห้ามความรัก

บิวตี้ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย สุขภาพ ดูดวง ความรัก วาไรตี้